เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



H1>ประวัติพระกาฬุทายีเถระ

ในสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กุลปฺปสทกานํ ได้แก่ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส. แท้จริง พระ-
เถระนี้ ทำราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้ยังไม่พบพระ-
พุทธเจ้าเท่านั้นให้เลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นยอดของภิกษุ
สาวกผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับ ดังนี้.
ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระเถระนี้บังเกิดใน
เรือนสกุล ณ กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็น
พระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอด
ของภิกษุสาวกผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส จึงการทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวดขึ้น
ไปแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านการทำกุศลตลอดชีวิต เวียนว่าย
อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในเรือนของอมาตย์ ณ กรุง-
กบิลพัสดุ ในวันที่พระโพธิสัตว์ของเราทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของ
พระมารดา ในวันเกิดก็เกิดพร้อมกับพระโพธิสัตว์แล ในวันนั้น ญาติ
ทั้งหลายก็ให้นอนบนเครื่องรองรับคือผ้าแล้วนำไปถวายตัวเพื่อรับใช้
พระโพธิสัตว์.
ต้นโพธิพฤกษ์ พระมารดาของพระราหุล ขุมทรัพย์ทั้ง 4 ช้าง
ทรง ม้ากัณฐกะ นายฉันนะ อมาตย์กาฬุทายี รวมเป็น 7 นี้ ชื่อว่า
สัตตสหชาต เพราะเกิดวันเดียวกับพระโพธิสัตว์.

ในวันขนานนามทารกนั้น เหล่าญาติตั้งชื่อว่าอุทายี เพราะเกิด
ในวันที่ชาวนครทั่วไปมีจิตใจฟูขึ้น (สูง). แต่เพราะเขาเป็นคนดำนิด
หน่อย จึงเกิดชื่อว่า กาฬุทายี กาฬุทายีนั้นเล่นของเล่นสำหรับเด็กชาย
กับพระโพธิสัตว์จนเจริญวัย ย่อมาพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตามลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐ. ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า สิทธัตถ
กุมารบรรลุอภิสัมโพธิญาณ อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร จึงทรงส่งอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีบุรุษพันคนเป็นบริวารไปด้วย
พระดำรัสสั่งว่า เจ้าจงนำโอรสของเรามาในที่นี้. อำมาตย์นั้นเดินไป
60 โยชน์เข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่งกลาง
บริษัท 4 ทรงแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า ข่าวสาส์นที่พระราชา
ทรงส่งไปพักไว้ก่อน แล้วยืนท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษพันคน ตรงที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ครั้งพระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์แก่อำมาตย์และบุรุษนั้นคนนั้น
ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุเถิด ทันใดนั้นเอง ทุกคนก็
ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระร้อยพรรษา
นับแต่เวลาบรรลุพระอรหัตกันแล้ว ธรรมดาว่าพระอริยะทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้วางเฉย เพราะฉะนั้น อำมาตย์นั้นจึงไม่ได้ทูลข่าวสาส์นที่
พระราชาทรงส่งไปแด่พระทศพล พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์
ยังไม่กลับ มาจากที่นั้น ข่าวคราวก็ไม่ได้ยิน จึงทรงส่งอำมาตย์คนอื่น ๆ
ไปโดยทำนองนั้นนั่นแล อำมาตย์แม้นั้นไปแล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อม
กับบริษัทโดยนัยก่อนนั่นแหละ แล้วก็นิ่งเสีย ทรงส่งบุรุษเก้าพันคน

พร้อมกับอำมาตย์เก้าคน ด้วยประการฉะนี้ ทุก ๆคนสำเร็จกิจของตน
แล้วก็นิ่งเสีย
ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า คนมีจำนวนเท่านี้ ไม่บอก
อะไรแก่พระทศพล เพื่อเสด็จมาในที่นี้เพราะเขาไม่รักเรา คนอื่น ๆ
แม้ไปก็คงจักไม่สามารถนำพระทศพลมาได้ แต่อุทายีบุตรของเรา
ปีเดียวกับพระทศพล โดยเล่นฝุ่นด้วยกันมา เขาคงรักเราบ้าง จึงโปรด
ให้เรียกตัวมาแล้วตรัสสั่งว่า ลูกเอ๋ย เจ้ามีบุรุษพันคนเป็นบริวาร จงไป
นำพระทศพลมา กาฬุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาท ได้
บรรพชาเหมือนพวกบุรุษที่ไปกันครั้งแรก จึงจัดนำมา พระเจ้าข้า.
รับสั่งว่าเจ้าทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจงนำลูกของเรามาก็แล้วกัน
กาฬุทายีรับราชโองการว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วถือสาส์นของพระราชา
ไปกรุงราชคฤห์ ยืนฟังธรรมท้ายบริษัท ในเวลาพระศาสดาทรงแสดง
ธรรมแล้วบรรลุพระอรหัต ดำรงอยู่โดยเป็นเอหิภิกขุ พร้อมทั้งบริวาร
ต่อนั้น ก็ดำริว่า ยังไม่เป็นกาละเทศะที่พระทศพลจะเสด็จไปยังนคร
แห่งสกุล ต่อสมัยวสันตฤดู (ฤดูใบไม้ผลิ) เมื่อไพรสณฑ์มีดอกไม้บาน
สะพรั่ง แผ่นดินคลุมด้วยหญ้าสด จึงจักเป็นกาละเทศะ จึงรอเวลาอยู่
รู้ว่ากาละเทศะมาถึงแล้ว จึงทูลพรรณนาหนทาง เพื่อพระทศพลเสร็จ
ดำเนินไปยังนครแห่งสกุล ด้วยคาถาประมาณ 60 คาถาเป็นต้นว่า
นาติสีตํ นาติอุณฺหํ นาติทุพฺภิกฺขฉาตกํ
สทฺทสา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนิ

ข้าแต่พระมทามุนี สถานที่ไม่เย็นจัด ไม้ร้อนจัด ใช่
สถานที่หาอาหารยากและอดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี

ชอุ่มด้วยหญ้า นี่เป็นกาลสมควร.
พระศาสดาทรงทราบว่า อุทายีกล่าวสรรเสริญการเดินไปว่าเป็นกาละ
เทศะ ที่จะเสด็จดำเนินไปยังกรุงกบิลพัสดุ มีภิกษุสองหมื่นรูปเป็นบริวาร
เสด็จออกจาริกด้วยการทรงดำเนินไปแบบไม่รีบด่วน พระอุทายีเถระ
ทราบว่า พระศาสดาเสด็จออกไปแล้ว คิดว่าควรจะถวายความเข้า
พระหฤทัย แต่พระมหาราชเจ้าพุทธบิดา จึงเหาะไปปรากฏ ณ พระ-
ราชนิเวศน์ของพระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระเถระ ก็มี
พระหฤทัยยินดี นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์(แท่น) ที่สมควรใหญ่ บรรจุ
บาตรให้เต็มด้วยโภชนะรสเลิศต่าง ๆ แล้วถวาย พระเถระลุกขึ้นแสดง
อากัปปกิริยาว่าจะไป ท้าวเธอจึงตรัสว่า นิมนต์นั่งฉันสิลูกเอ๋ย ท่านทูล
ว่ามหาบพิตรอาตมภาพจักไปฉัน ณ สำนักพระศาสดา ตรัสถามว่า ก็
พระศาสดาอยู่ไหนล่ะพ่อเอ๋ย ท่านทูลว่ามหาบพิตร พระศาสดามีภิกษุ
สองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกเพื่อเยือนมหาบพิตรแล้ว ตรัสว่า
ลูกฉันบิณฑบาตนี้แล้ว โปรดนำบิณฑบาตนอกจากนี้ไปถวาย จนกว่า
ลูกของโยมจะมาถึงนครนี้ พระเถระรับอาหารที่จะพึงนำไปถวายพระ-
ทศพล แล้วกล่าวธรรมกถา ทำพระราชนิเวศน์ทั้งสิ้นให้ได้ศรัทธา โดย
ยังไม่ทันเห็นพระทศพลเลย เมื่อทุกคนเห็นอยู่นั่นแล ก็โยนบาตรขึ้นไป
ในอากาศ แม้ตนเองก็เหาะไปนำบิณฑบาตไปวางไว้ที่พระหัตถ์ของพระ-
ศาสดา พระศาสดาก็เสวยบิณฑบาตนั้น ทุก ๆวัน พระเถระนำอาหารจาก
พระราชนิเวศน์มาถวายแต่พระศาสดา ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินทาง 60
โยชน์ ตลอดทางโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง พึงทราบเรื่องดังกล่าวมาฉะนี้

ต่อมาภายหลัง พระศาสดาทรงดำริว่า อุทายี ทำพระราชนิเวศน์

ทั้งสิ้นของพระมหาราชบิดาของเราให้เลื่อมใสแล้ว จึงทรงสถาปนา
พระเถระไว้ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทำสกุล
ให้เลื่อมใสแล.


จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ประวัติพระพกกุลเถระ



ในสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺปาพาธานํ ได้แก่ผู้ไม่มีอาพาธ. บทว่า พากุโล ได้แก่
พระเถระได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเจริญเติบโตมาในสกุลทั้งสอง ในปัญหา
กรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.
ดังได้ยินมา ในอดีตกาล พระเถระนี้ถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์
ก่อนแต่พระทศพลพระนามว่าอโนมทัสสี ปลายอสงไขยกำไรแสนกัป
นับแต่กัปนี้ เจริญวัย ก็เรียนพระเวท มองไม่เห็นสาระในคัมภีร์ไตรเพท
คิดว่าจักแสวงหาประโยชน์ที่เป็นไปภายภาคหน้า จึงบวชเป็นฤษี ได้
อภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ทำเวลาให้ล่วงไป ด้วยการเล่นฌาน สมัย
นั้น พระอโนมทัสสีโพธิสัตว์ บรรลุพระสัพัญญุตญาณ มีหมู่พระอริยะ
แวดล้อมแล้ว เสด็จจาริกไป ดาบสฟังว่าพระรัตนะสาม เกิดขึ้นแล้ว
จึงไปสำนักพระศาสดาฟังธรรม จบเทศนา ก็ตั้งอยู่ในสรณะ แต่ไม่
อาจละฐานะ(เพศ) ของตนได้ ท่านไปเฝ้าพระศาสดาและฟังธรรม
เป็นครั้งคราว ต่อมา สมัยหนึ่ง พระตถาคตเกิดโรคลมในพระอุทร.
ดาบสมาเพื่อเฝ้าพระศาสดา ทราบว่า พระศาสดาประชวร
จึงถามว่า ท่านเจ้าข้า ประชวรเป็นโรคอะไร เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นโรคลมในพระอุทร จึงคิดว่า นี้เป็นเวลาทำบุญ
ของเรา จึงไปยังเชิงเขา รวบรวมยาชนิดต่าง ๆ แล้วถวายพระเถระ
ผู้อุปัฏฐาก ด้วยกล่าวว่า โปรดน้อมถวายยานี้แต่พระศาสดา โรคลมใน